พระพรหม รุ่น สำเร็จทุกสิ่ง

คุณสมบัติสินค้า:

SKU :

เนื้อบอร์นอิตาลี

Share

ท้าวมหาพรหม รุ่น สำเร็จทุกสิ่ง 
ขนาดลอยองค์ เนื้อบอร์นอิตาลี  ก้นอุดผงพรหมญาณ
ตอกโค้ด ตอกเลขกำกับ จากชุดกรรมการ พระพรหม ๙ นิ้ว องค์ครู 













พระพรหมองค์เล็กขนาดลอยองค์ แยกจากชุดกรรมการ พระพรหมองค์ใหญ่ ๙นิ้ว องค์ครู



 
ท้าวมหาพรหม “สำเร็จทุกสิ่ง” ขนาดบูชา ๙ นิ้ว (องค์ครู)
หล่อด้วยโลหะ “บร์อนอิตาลี่” ใต้ฐานบรรจุด้วยแผ่นเงินแท้ จารอักขระโดยพระอาจารย์มหาสุรศักดิ์ , แก้วมณีธาตุจักรวาลวางตามตำแหน่งมหาทักษาดาวนพเคราะห์ทั้ง๙ ,ผงพรหมญาณ , ท้าวมหาพรหมเนื้อทองสตางค์ ๙ องค์ หลอดบรรจุเม็ดกริ่ง “มหาเพชรกลับ” “และเม็ดกริ่งโภคทรัพย์” ฐานรองด้วยหินแกรนิตเกรด A มีใบรับรองวัตถุมงคล

ผลงานโดย อ.พิทักษ์ เฉลิมเล่า 
ประติมากรแห่งสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
 



 
วัตถุประสงค์
เพื่อนำรายได้เข้าสมทบทุน บูรณะและซ่อมแซมเสนาสนะภายในวัดรวกบางสีทอง ต.บางกรวย อ.บางกรวย  จ.นนทบุรี เพราะหลังจากผ่านวิกฤติเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ เสนาสนะหลายจุดก็ต้องบูรณะซ่อมแซม และ ยังต้องใช้ทุนทรัพย์ กันอีกมาก  ด้วยเหตุนี้ ทางเจ้าอาวาสวัดและคณะศิษย์จึงได้ ประชุมกันแล้วมีความเห็นว่า จะจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อนำออกให้ผู้คนเช่าบูชาเพื่อนำรายได้เข้าสมทบทุนในการนี้

รูปแบบ
"เทวะศิลปะประยุกต์" อัน เป็นการผสมผสานงานศิลปะของไทยอันเป็นเอกลักษณ์เข้ากับงานศิลปะแบบ "มหายาน"  โดยได้ทำการออกแบบให้เป็น "ปางประทานพร ทรงบัลลังค์มังกร ๔ ทิศ" นอกจาก "ท่านอาจารย์พิทักษ์" จะออกแบบและปั้นเนื้องานแล้ว ยังจะได้ "ท่านอาจารย์ถวัลย์ เมืองช้าง" แห่ง "โรงหล่อ เอเชียร์ ไฟน์ อาร์ท"เป็นผู้ทำการหล่อให้ด้วยเนื้อ "บรอนซ์นอก" (บรอนซ์อิตาลี) อันเป็นเนื้อโลหะส่วนผสมที่ใช้ในการหล่ออนุสาวรีย์หรือราชานุสาวรีย์หรืองานประติมากรรมของกรมศิลปากร ซึ่งนับว่าเป็นความพิเศษของ ขนาด ๙ นิ้ว ซึ่งจะสร้างตามจำนวนสั่งจองแต่จะไม่เกิน ๑๙ องค์

นอกจากจะเป็น "งานประติมากรรม โดยศิลปินช่างชั้นครูระดับประเทศแล้ว ยังเป็นการสร้างงานในรูปแบบ เทวศิลป์ประยุกต์ ที่งดงามลงตัว"  เป็นศิลปะแห่งแผ่นดิน ไม่ใช่แค่ทำเพื่อเป็น "วัตถุมงคลให้บูชาเพียงอย่างเดียว"  "หล่อด้วยบรอนซ์นอก (บรอนซ์อิตาลี) ทั้งสองขนาด คือ ทั้งขนาด ๙ " และ ทั้งขนาด ๕ " โดยโรงหล่อ เอเชียร์ ไฟน์ อาร์ท ของท่านอาจารย์ถวัลย์  เมืองช้าง เป็นผู้ทำการเท มีใบเซอร์ พร้อมลายเซ็นต์ ของท่านอาจารย์ พิทักษ์ (ผู้ปั้น)  และ อาจารย์ถวัลย์ (ผู้หล่อโลหะ)  อีกทั้งนามของผู้ที่สั่งจอง กำกับไว้ทุกองค์ทุกชิ้นงาน อีกทั้งจะมีลายเซ็นสดของท่านอาจารย์ สลักลงในทุกชิ้นงาน  เพื่อให้เป็นงานที่ได้ทั้งความสวยงาม มีศิลปะ ที่จะมีคุณค่าในวันข้างหน้า และ ยังจะได้ความเป็นมงคลเพราะได้ผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสก จากพระเถราจารย์ผู้ทรงคุณ ด้วยอีกทางหนึ่ง   จึงนับว่าคุ้มค่าทุกเนื้อหา คุ้มค่าของแรงศรัทธา

 

และอีกหนึ่งจินตนาการแรงบันดาลใจในสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม เกิดจาก แนวคิด คติของ พรหมโลก ๒๐ ชั้น..จึงได้ สร้างองค์ครู ขนาดบูชา  ๙ นิ้วขึ้นมา โดย..แบ่งเรื่องราวออกเป็น
๑. เหนือยอดเศียรท่าวท้าวมหาพรหม จะปั้นออกมาเป็น พญาหงส์ที่รองรับดอกบัวสี่กลีบที่มีลูกแก้วกลมอยู่เหนือดอกบัว อันหมายถึง "พระพรหมชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น "ที่อยู่สภาวะที่ไม่มีตัวตน มีแต่ดวงจิต สว่างไสวคงอยู่  
     - ดอกบัวคือ พระพรหม (ตามตำนานพระพรหมหมายถึงผู้เกิดจากบัว)
    - ลูกแก้วกลมๆ คือ สภาวะแห่ง อรูปพรหมทั้งสี่ ชั้น คือ..
๑. อากาสานัญจายตนภูมิ  ๒. วิญญาณัญจายตนภูมิ  ๓. อากิญจัญญายตนภูมิ  ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
     -  พญาหงส์ คือสัญลักษณ์ อันเปรียบเสมือนความสูงส่ง ความยั่งยืน ที่เป็นพาหนะรองรับ "อรูปพรหม" ทั้ง ๔ ชั้นไว้.

๒.ภาคกายทิพย์  มีตัวตน คือ ชั้น "รูปพรหม" ทั้ง ๑๖ ชั้น ก็คือ
๑. พรหมปาริสัชชาภูมิ
๒. พรหมปุโรหิตาภูมิ
๓. มหาพรหมาภูมิ
๔. ปริตตาภาภูมิ
๕. อัปปมาณาภาภูมิ
๖. อาภัสราภูมิ
๗. ปริตตสุภาภูมิ
๘. อัปปมาณสุภาภูมิ
๙. สุภกิณหาภูมิ
๑๐. เวหัปผลาภูมิ
๑๑. อสัญญีสัตตาภูมิ
๑๒.อวิหาสุทธาวาสพรหมภูมิ
๑๓. อตัปปาสุทธาวาสพรหมภูมิ
๑๔. สุทัสสาสุทธาวาสพรหมภูมิ
๑๕. สุทัสสีสุทธาวาสพรหมภูมิ
๑๖. อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมภูมิ

ภาวะแห่งรูปร่าง ตัวตน ขององค์ท้าวมหาพรหม โดยพระพักตร์ทั้งสี่ คือ ตัวแทนของคำว่า "เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา"  และจะคอยประทานพรให้กับผู้ที่บูชาสักการะ..ส่วนที่เป็นพระบาทรองรับด้วย พญาหงส์ อันเป็นพาหนะประจำพระองค์

 






















 
เกร็ดน่ารู้...
พระพรหม
 หรือ พระพรหมธาดา 
(อักษรโรมัน: brahmā; อักษรเทวนาครี: ब्रह्मा;สันสกฤต: ब्रह्मा) เป็นเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ถือว่าเป็นผู้สร้างจักรวาล และเป็นหนึ่งในตรีมูรติ อันประกอบด้วยพระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ต่างจาก พรหมัน อันเป็นเป้าสูงสุดของปรัชญาฮินดู แต่มีรากศัพท์เดียวกัน โดยที่พรหมันนั้นเป็นนาม นปุงสกลิงก์ คือไม่มีเพศ ขณะที่พระพรหม เป็นปุลลิงก์ หรือบุรุษเพศ ตามคัมภีร์พระเวท ถือว่าพระพรหมมีชายา คือพระสุรัสวดี มีหงส์เป็นพาหนะ มี 4 พระพักตร์ เป็นเทพแห่งการสร้างและการให้พร ที่เรียกว่า "พรหมพร" ถือเป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา และยังเชื่ออีกว่า พระพรหมเป็นผู้ที่กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาใหม่ โดยเขียนไว้ที่หน้าผาก เมื่อเกิดมาใหม่ได้ ๖ วัน ซึ่งเรียกกันว่า "พรหมลิขิต" หรือ "พรหมเรขา"      
 
"พระพรหม" ในทางพระพุทธศาสนา เป็น "พระพรหมผู้วิเศษ" ล้วนแต่บุรุษเพศทั้งสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตว์ในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องมีการถ่ายคูตรมูถ คืออุจจาระ ปัสสาวะอันลามกเหม็นร้าย สรีระร่างกายหน้าตาแห่งบรรดาพระพรหมนั้น มีสัณฐานกลมเกลี้ยงสวยงามนัก มีรัศมีออกจากกายตัวเลื่อม ประภัสสรรุ่งเรืองกว่ารัศมีพระอาทิตย์ และพระจันทร์ หลายพันเท่า เพียงแต่หัตถ์หนึ่งเล่าอันพระพรหมทั้งหลายเหยียดยื่นออกไปหวังจะให้ส่อง รัศมีไปทั่วห้วงจักรวาลก็ย่อมจักทำได้ อวัยวะร่างกายที่ต่อกัน คือ หัวเข่าก็ดี แขนก็ดี มีสัณฐานกลมเกลี้ยงเรียบงามนัก จักได้เห็นที่ต่อกันนั้นหามิได้ เกศเกล้าแห่งพระพรหมทั้งหลายนั้นงามนัก ปรากฏโดยมากมีศีรษะประดับด้วยชฎา สถิตย์เสวยสุขพรหมสมบัติอยู่ ณ พรหมภูมิที่ตนอุบัติตราบจนกว่าจะสิ้นอายุ ซึ่งเป็นเวลานานแสนนาน
(พระพรหมมีใบหน้ากลมเกลี้ยง มีแสงจากกายที่ส่องสว่างกว่าแสงพระอาทิตย์ และแสงพระจัทร์เป็นหลายพันเท่า โดยพิจารณาเพียงฝ่ามือข้างเดียวของพระพรหมที่แบออกนั้น ก็สามารถส่องแสงสว่างไปทั่วจักรวาลได้ อวัยวะใดๆที่ต้องมีรอยต่อกัน (เช่น บริเวณแขน ที่มีศอก และรอยพับ เชื่อมระหว่างแขนบน และแขนล่าง) ก็เกลี้ยง เรียบเนียน เส้นผมก็สวยงามมาก ซึ่งโดยมากจะมีชฏาประดับบนศีรษะ และอยู่เสวยสุขในชั้นพรหมของตนเอง จนกว่าจะสิ้นอายุขัย ซึ่งก็เป็นเวลาแสนนาน)   พระพรหมมีชื่อเรียกอื่นในภาษาไทยเช่น จตุรพักตร์ (๔ หน้า), ธาดาบดี (ผู้สร้าง),หงสรถ (มีหงส์เป็นพาหนะ), ปรเมษฐ์ (ผู้สูงสุด) เป็นต้น

 






 
รายนามพระเถราจารย์ที่รับอาราธนานิมนต์.. อธิษฐานจิต ปลุกเสก..ในวันอาทิตย์ที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๗
๑.  พระครูสิริธรรมรัต  (หลวงพ่อหล่ำ)                         วัดสามัคคีธรรม   จ.กรุงเทพฯ
๒.  พระครูวิมลญาณอุดม (พระอาจารย์ติ๋ว)                   วัดมณีชลขัณฑ์   จ.ลพบุรี
๓.  พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระอาจารย์มหาสุรศักดิ์)      วัดประดู่ ฯ  จ.สมุทรสงคราม
๔. พระครูปทุมวรกิจ  (พระอาจารย์ชำนาญ)                  วัดบางกุฎีทอง    จ. ปทุมธานี
๕.  พระครูปลัดแวนกาย  พนฺธสาโร                            วัดอัมปึล  จ.อุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา
๖.  ครูบาบุญยัง  ปุญฺญํกโร                                       วัดห้วยน้ำอุ่น     จ. ลำพูน
๗.  พระอาจารย์ไพสิฐ   สิทธิญาโณ                            อาศรมวังวิเวกสามแก้ว  จ.นครศรีธรรมราช
๘. พระครูวินัยธร ณรงค์   ปวีโร                                  วัดรวกบางสีทอง  จ.นนทบุรี
 
 พระสงฆ์นั่งอันดับเจริญพระพุทธมนต์และบทธรรมจักรกัปปัตวตนสูตร และ อิติปิโส นวหรคุณ ๑๐๘ จบ รวมทั้งสิ้นอีก  ๑๖ รูป (เทียบเท่ากำลังโสฬส  ๑๖ ชั้นฟ้า)

 

นสพ.คมชัดลึก ฉ.12/9/57

ร่วมบุญบูรณะวัดรวกบางสีทอง

 
 

          วัดรวก ต.บางสีทอง อ.บางกวย จ.นนทบุรี เดิมนั้นเป็นวัดร้างมาก่อน ทั่วบริเวณวัดมีป่าไผ่รวกขึ้นเต็มไปหมด จึงตั้งชื่อว่าวัดรวก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๗ หลวงพ่อพร้อม จตฺตเสโต (เจ้าอาวาสรูปแรก) ได้เข้ามาบูรณะวัดรวกขึ้นใหม่ หลวงพ่อพร้อมท่านมีความสามารถและโด่งดังมากในด้านเวทมนต์คาถา เสกเป่าทำน้ำมนต์รักษาเกี่ยวกับเรื่องกระดูกแตกหัก จนเป็นที่ร่ำลือ ทำให้มีคนรู้จักวัดรวกมากขึ้น ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวนที่ "พระครูพร้อม" และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูนนทการประสิทธิ์"

          พ.ศ.๒๕๐๑ หลวงพ่อพร้อมท่านเป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดรวกตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๗ ถึง พ.ศ.๒๕๐๘ หลังจากหลวงพ่อพร้อมได้มรณภาพลง พระอาจารย์มหาสมศักดิ์ ฐิตธมฺโม ก็ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดรวกเป็นรูปที่ ๒ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๙ ถึง พ.ศ.๒๕๒๙ รวม ๒๐ปี หลังจากนั้นพระมหาประยงค์ สุวโจ ได้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ต่อจากพระอาจารย์มหาสมศักดิ์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๙ ถึง พ.ศ.๒๕๔๔ ต่อมาพระครูสังฆรักษ์ณรงค์ปวีโร ก็ได้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดรวกตั้งแต่ปีนั้นจนถึงปัจจุบัน
 
          เนื่องจากวัดรวกมีสภาพทรุดโทรมมากในปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นต้องใช้ปัจจัยจำนวนมากในการที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ให้มีสภาพเหมือนเดิม พระครูสังฆรักษ์ณรงค์ ปวีโร จึงได้ดำริที่จะจัดสร้างรูปจำลองขนาดลอยองค์ พระพุทธโสธรย้อนยุค" และ "ท่านท้าวมหาพรหม ทรงบัลลังก์มังกรสี่ทิศ"  "รุ่น.....สำเร็จทุกสิ่ง" ขึ้น ประกอบด้วย เพื่อตอบแทนแก่พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาที่มาร่วมทำบุญบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆของวัดรวก ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์ปัจจัยอีกเป็นจำนวนมาก

          สำหรับความพิเศษของวัตถุมงคลรุ่น "สำเร็จทุกสิ่ง" ในครั้งนี้นั้น นอกจากจะมีพระพุทธโสธร ย้อนยุค ที่ได้รับแรงศรัทธาจากสาธุชนที่ได้สั่งจองเพื่อบูชากันอย่างล้นหลามแล้ว ที่ถูกกล่าวถึงกันเป็นอย่างมาก คือ รูปแบบงานประติมากรรม "ท่านท้าวมหาพรหม ในปางประทับมังกรสี่ทิศ" ที่ออกแบบโดย ศิลปินผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นประติมากร ที่มากฝีมือผู้หนึ่งในประเทศไทย ผู้ซึ่งมีผลงานทางด้านประติมากรรมเทวะศิลป์อันโดดเด่นมากมายหลายชิ้นงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ นั่นก็คือ อ.พิทักษ์ เฉลิมเล่า สำหรับท่านท้าวมหาพรหมนั้น ท่านอาจารย์พิทักษ์ได้ ออกแบบไว้เป็นขนาดบูชา หน้าตัก ๙ นิ้วและขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว นอกจากนี้วัดยังได้มีขนาดลอยองค์ติดตัวเพื่อบูชาและขนาดบูชาตั้งหน้ารถอีกด้วย

          พระพุทธโสธร ย้อนยุค และท่านท้าวมหาพรหม  "รุ่น.....สำเร็จทุกสิ่ง" ได้เกจิอาจารย์ผู้ทรงดวงจิตอภิญญาและเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในยุคนี้ ที่ได้เข้าร่วมกันอธิษฐานจิต ภายในพระอุโบสถ วัดรวกบางสีทอง อย่างเข้มข้น เข้มขลัง เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๗ เช่น พระอาจารย์มหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม, พระอาจารย์ชำนาญ วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี, พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี, หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม จ.กรุงเทพฯ, ครูบาบุญยัง วัดห้วยน้ำอุ่น จ.ลำพูน, พระอาจารย์ไพสิฐ อาศรมวังวิเวกสามแก้ว จ.นครศรีธรรมราช เป็นต้น ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญได้ที่วัดรวก ต.บางสีทอง อ.บางกวย จ.นนทบุรี


ขอขอบคุณ ข้อมูลจากทีมงานผู้จัดสร้าง และ นพส.คมชัดลึก  

สั่งได้ มีหลายองค์ครับ

ส่งฟรี ems ครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้