Webmaster
Praput1981@hotmail.com
เที่ยววัดทำบุญ วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี (9949 อ่าน)
3 ต.ค. 2556 21:29
เกริ่นไว้นานเลยครับ ว่าจะนำภาพการทัวร์วัด ทำบุญที่วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรีมาให้รับชมกัน วันนี้มีโอกาสเหมาะ ที่จะได้นำภาพมาลงให้ชมกันครับ..
...... พวกเราทีมงาน praputthai.com วางแผนกันเอาไว้ล่วงหน้าว่า ช่วงต้นปี 2556 ที่มีงานปิดทองฝังลูกนิมิตรตามวัดต่างๆนั้น เราจะเดินสายทำบุญกัน เพื่อต้อนรับศักราชใหม่ (แต่ก็กว่าจะได้นำมาบอกเล่า ก็ล่วงไปจะเกือบปีอีกแล้วครับ^^”)เราได้ออกเดินทางไปวัดที่ จ.เพชรบุรี เมื่อเช้าวันหนึ่งของต้นเดือนกุมภาพันธ์ครับและเป็นครั้งแรกด้วยครับ เส้นทางไปที่วัด เริ่มจากต้นที่ ถนนสรรพาวุธ แล้วขึ้นทางด่วนเฉลิมมหานคร(ทางด่วนบางนา)ขับไปตามเส้นทาง พระโขนง/Phra Khanong/ดินแดง/Din Daeng/ถนนพระราม ๙/Rama IX Road/ดาวคะนอง-แจ้งวัฒนะ/Dao Khanong Chaeng Watthana มุ่งตรงขึ้นไปตามเส้นทาง ผ่านจังหวัดสมุทรสงคราม ไปยังจังหวัดเพชรบุรี ตลอดเส้นทางจะมีป้ายบอกทางเป็นระยะๆ ครับ เมื่อออกจากเขตจังหวัดสมุทรสงครามแล้ว ถึงตอนนี้ GPS จากโทรศัพท์มือถือ โนเกีย รุ่นสัมผัส รุ่นแรก 5800 XP เริ่มมีบทบาทสำคัญกับพวกเรา เนื่องจากที่พวกเราไม่คุ้นไม่ชินกับเส้นทาง แต่กระนั้นพวกเราก็ยังพากันหลงทางเสียเวลาออยู่เล็กน้อย แม้จะมีเจ้าGPS เป็นผู้นำทางก็เถอะ ด้วยว่าไม่ได้อัพเดทซอฟแวร์ของเครื่องประกอบกับเครื่องใช้งานมาสมบุกสมบันมาก นั่นเองจึงทำให้เกิดปรากฏการดีเลย์ของจีพีเอส ไปถึงวัดเขาตะเครา แบตหมดพอดี แต่ถือว่า GPS มีประโยชน์กับพวกเรามากครับ หากไม่มีเจ้านี่ พวกเราก็ยังไม่แน่ใจว่าจะไปถึงวัดกันตอนไหน
ก่อนเข้าไปถึงวัด พวกเราจะผ่านวัดที่อยู่ระหว่างทาง ระหว่างหมู่บ้านอยู่ประมาณ 2-3 วัด แต่จำชื่อวัดไม่ได้เสียแล้วครับ
ก็ดูๆเอาไว้ว่า หลังจากที่กลับลงมาจากวัดเขาตะเครา พวกเราจะนำพระพุทธสุวรรณมงคลปฏิมากร(หลวงพ่อทอง)พุทธรูปปางประทานพรหน้าตัก 9 นิ้ว วัดพิกุลทอง ปี 2539 หลวงพ่อแพ ปลุกเสก ไปถวายวัด เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นการจรรโลงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงถาวรยาวนานสืบไป และเพื่อเป็นการอุทิศผลบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวรเพื่อที่จะได้เป็นอโหสิกรรมต่อกัน .
จากหมู่บ้าน เราขับรถฝ่าถนนที่ตัดผ่านทุ่งนา ไปยังวัดเขาตะเครา ระยะทางจากต้นทาง ประมาณสัก10กิโลเมตร ครับ ก่อนถึงวัด จะเป็นทางที่ไม่ค่อยสะดวกเท่าไรครับ กล่าวคือจะมีทางคดเคี้ยวตลอด เป็นทางขึ้นเขา แต่ไม่ชันมาก มีบ้านเรือนชาวบ้านปลูกอยู่ประปราย สภาพเป็นป่าสองข้างทางครับ ท่านที่คิดจะเดินทางไปกราบนมัสการหลวงพ่อ อย่าลืมเติมน้ำมันให้เต็มถัง และตรวจเช็คสภาพรถยนต์ของท่านให้เรียบร้อยก่อนนะครับ เพื่อป้องกันปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นกับการเดินทางได้ เมื่อถึงตรงจุดนี้กระผมไม่แปลกใจเลย ที่มีคนเมืองเพชรบางคนบอกกับผมว่า แม้จะเป็นคนเพชรบุรี แต่ยังไม่เคยขึ้นไปกราบหลวงพ่อทองที่วัดเขาตะเคราเลยสักครั้ง ก็คงจะจริงครับ เพราะเส้นทางการเดินทางมาที่วัด จะว่าลำบาก็ลำบาก อยู่เหมือนกันครับ แต่พวกเราไม่เคยท้อ มุ่งมั่นที่จะมา และแล้วพวกเราก็มาถึงซึ่งวัดเขาตะเครากันจนได้ครับมาถึงประมาณสายๆหน่อย ซึ่งวันนี้ ที่วัดกำลังคึกคักไปด้วยผู้คนที่ศรัทธา ผู้คนที่แสวงบุญ ขึ้นมากราบไหว้ทำบุญกันที่วัดเป็นจำนวนมาก (น่าเสียดายที่ระหว่างทางไม่ได้ถ่ายรูปไว้ครับ จะมีก็แต่รูปเมื่อตอนไปถึงวัดกันแล้วครับ)
พวกเราเข้าไปกราบหลวงพ่อทอง และร่วมทำบุญในวิหารหลวงพ่อทองครับ บรรยากาศภายในวิหารอบอวลไปด้วยกลิ่นธูป เสียงสวดให้พรจากพระสงฆ์ และนักแสวงบุญกันเป็นจำนวนมาก
127.0.0.1
Webmaster
ผู้ดูแล
Praput1981@hotmail.com
Webmaster
Praput1981@hotmail.com
3 ต.ค. 2556 22:53 #1
ประวัติหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา กับตำนานพระลอยน้ำ5พี่น้อง
หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริด ศิลปะเชียงแสน มีขนาดหน้าตักกว้าง 21นิ้ว และสูง 29 นิ้ว ปิดทองคำเปลวอร่ามทั้งองค์ไม่มีหลักฐานระบุสร้างปีใด ใครเป็นผู้สร้าง มีเพียงตำนานเอ่ยถึง สำหรับประวัติความเป็นมาของพระ 5 พี่น้องนั้น ( หรือพระ 3 พี่น้องในบางตำนานซึ่งได้แก่ หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโต หลวงพ่อวัดบ้านแหลม) ตามตำนานระบุว่า พระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ ลอยน้ำมาตามแม่น้ำสายหลักของภาคกลางทั้ง5 สาย และมีชาวบ้านมาพบเจอจึงได้นำพระพุทธรูปเหล่านั้นขึ้นฝั่งและนำไปประดิษฐานไว้ตามวัดใกล้เคียงกับจุดที่ชะลอองค์พระขึ้นจากแม่น้ำ ซึ่งลอยน้ำมาจากทางเหนือ (พร้อมพระพี่น้องอีก 4 องค์) ได้ขึ้นประดิษฐานอยู่ ณ วัดเขาตะเครา อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวในจำนวน 5 องค์พี่น้อง ที่มีแผ่นทองคำเปลวปิดหุ้มอยู่หนามากจนแลไม่เห็นความงามตามพุทธลักษณะเดิม
ตามประวัติได้เล่าไว้ว่า ชาวบ้านแหลมซึ่งอยู่ปากอ่าวจังหวัดเพชรบุรี ได้พากันมาจับปลาในทะเล ขณะที่ลากอวนอยู่นั้นได้ลากพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยติดอวนขึ้นมาองค์หนึ่ง ในระหว่างทางกลับ ก็ได้พบพระพุทธรูปยืน (หลวงพ่อบ้านแหลม) ลอยปริ่มๆ น้ำอยู่ไม่ไกลนัก จึงอาราธนาขึ้นบนเรืออีกลำหนึ่ง แต่เกิดอาเพทฝนตกหนัก ลมพายุพัดจัด เรือลำที่พระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่นั้น ทนคลื่นลมไม่ไหว จึงเอียงวูบไป พระพุทธรูปที่อยู่บนเรือจึงเคลื่อนตกจมหายไปในแม่น้ำ
ชาวบ้านแหลมพากันตกใจและเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ต่างช่วยกันดำน้ำค้นหาอยู่หลายวัน แต่ก็ไม่พบ จึงตกลงว่าไม่ค้นหากันต่อไปอีก จึงนำพระพุทธรูปองค์นั่งที่เหลืออยู่บนเรืออีกลำหนึ่งไปยังถิ่นของตน และนำพระพุทธรูปองค์นั้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่ พ.ศ.2302 เป็นต้นมา และเรียกขานกันว่าหลวงพ่อเขาตะเครา
ชื่อใหม่ของหลวงพ่อ
หลวงพ่อเขาตะเครา ได้รับการเรียกขานนามใหม่คือ “หลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา” สาเหตุมาจากมีช่างภาพคนหนึ่งต้องการถ่ายภาพหลวงพ่อ แต่ความที่องค์หลวงพ่อมีทองปิดทับอยู่หนามากจนแลไม่เห็นพุทธลักษณะเดิม ช่างภาพคนนี้จึงไปแกะทองที่ตาหลวงพ่อออกโดยมิได้บอกล่าวและขออนุญาต หลังจากนั้นไม่กี่วันช่างภาพคนนี้ก็มีอาการหูตาบวมเป่ง จึงต้องมากราบขอขมาหลวงพ่อ อาการจึงหายไป
จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงไม่มีใครกล้าไปแตะต้องหลวงพ่อ จนกระทั่งทองปิดองค์ท่านทับถมกันมากขึ้นทุกวันๆ ชาวบ้านที่มานมัสการจึงเติมคำว่า “ทอง” ไปในการเรียกขาน จึงกลายมาเป็น “หลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา” ต่อเนื่องกับเรื่องราวของหลวงพ่อบ้านแหลม หลังจากที่ชาวประมงบ้านแหลมนำพระพุทธรูปปางมารวิชัยกลับไปยังถิ่นฐานของตน ก็ได้นำพระพุทธรูปองค์นั้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา และเรียกขานกันว่าหลวงพ่อเขาตะเครา
ปัจจุบันชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เนื่องจากมีผู้มาปิดทองที่องค์พระพุทธรูปจนหนา ทำให้ไม่เห็นองค์เดิมว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อหรือปูนปั้น และมีเรื่องเล่าว่าเมื่อปี 2527 ได้เกิดไฟไหม้ลุกท่วมองค์หลวงพ่อ ไฟที่ไหม้นั้นได้เปล่งรัศมีออกมา และทองที่หุ้มพระพุทธรูปก็ได้หลอมไหลออกมา เมื่อนำทองเหล่านั้นไปชั่งน้ำหนัก ก็พบว่าหนักถึง 9.9 กิโลกรัมทีเดียว
มีผู้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทองอยู่หลายเรื่องทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการอธิษฐานหรือบนขอให้ค้าขายร่ำรวย ช่วยให้แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ ฯลฯ ซึ่งผู้ที่สมหวังในคำอธิษฐานแล้วก็มักถวายหรือแก้บนด้วยการรำละคร หรือประทัด เป็นต้น แต่การบนที่มักสมปรารถนาเร็วก็คือการบนตัวบวช ไม่ว่าจะเป็นบวชพระ บวชเณร บวชชี บวชชีพราหมณ์
พระมงคลวชิราจารย์ (หลวงพ่อสุข) เจ้าอาวาสวัดเขาตะเครา ได้เล่าถึงที่มาของชื่อหลวงพ่อทองแห่งวัดเขาตะเครา ว่า เดิมชาวบ้านจะเรียกพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ว่า หลวงพ่อวัดเขาตะเครา เป็นที่เคารพบูชาของชาวประมงเป็นอย่างมาก แต่ได้มาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “หลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา” หลังจากที่เกิดปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์ขึ้น เมื่อตอนกลางคืนของวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ ขณะที่อาตมาจำวัด ได้ฝันว่า มีพระอายุมากรูปหนึ่งนำถุงบรรจุทองคำยื่นให้ พร้อมกับพูดว่า ‘เอาไป’ หลังจากนั้นท่านก็หายไป
ต่อมาเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. เศษ ของวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ ได้เกิดไฟลุกไหม้ท่วม องค์หลวงพ่อวัดเขาตะเครา ขณะนั้นประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ขณะไฟลุกไหม้ทำให้ทองคำหลอมไหม้ไหลออกมาจากองค์หลวงพ่อทอง เมื่อนำทองคำทั้งหมดมาชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าได้น้ำหนักถึง ๙ กิโลกรัม ๙ ขีด หลวงพ่อจึงได้นำเอาทองไปจัดทำเป็นลูกอมทองไหลหลวงพ่อทอง แล้วแจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชนนำไปติดตัวและบูชา ได้ปัจจัยมาทั้งหมด ๑๑ ล้านบาท เพื่อนำมาสร้างมณฑป โรงเรียน และศาสนสถานอื่นๆ สำหรับลูกอมหลวงพ่อทอง ต่อมาได้เกิดปาฏิหาริย์มากมาย โดยเฉพาะทางด้านแคล้วคลาด ทำให้ประชาชนเคารพศรัทธามากขึ้น และเรียกหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา ตลอดมาถึงปัจจุบัน
วัดเขาตะเคราตั้งอยู่ที่ ต.บางครก อ.บ้านแหลม ห่างจากตัวจังหวัดเพชรบุรีประมาณ 10 กิโลเมตร ไม่ปรากฏหลักฐานระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เดิมพระอุโบสถอยู่บนยอดเขา ต่อมาย้ายพระอุโบสถลงมาเชิงเขา เพื่อความสะดวกเวลาปฏิบัติศาสนกิจ แล้วอัญเชิญองค์หลวงพ่อทอง ลงมาประดิษฐานที่ศาลาการเปรียญ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนกราบสักการะ หลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวทางจิตใจชาวเพชรบุรี และพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เล่ากันว่าศักดิ์สิทธิ์เรื่องโชคลาภ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ที่สมัครเรียน สมัครงาน ฯลฯ มักจะมาบนบานขอให้ได้ตามประสงค์ ผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก็มักมาบนบานขอให้หาย
ปัจจุบันชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา เนื่องจากมีผู้มาปิดทองที่องค์พระพุทธรูปจนหนา ทำให้ไม่เห็นองค์เดิมว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อหรือปูนปั้น และมีเรื่องเล่าว่าเมื่อปี 2527 ได้เกิดไฟไหม้ลุกท่วมองค์หลวงพ่อ ไฟที่ไหม้นั้นได้เปล่งรัศมีออกมา และทองที่หุ้มพระพุทธรูปก็ได้หลอมไหลออกมา เมื่อนำทองเหล่านั้นไปชั่งน้ำหนัก ก็พบว่าหนักถึง 9.9 กิโลกรัมทีเดียว
มีผู้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทองอยู่หลายเรื่องทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการอธิษฐานหรือบนขอให้ค้าขายร่ำรวย ช่วยให้แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ ฯลฯ ซึ่งผู้ที่สมหวังในคำอธิษฐานแล้วก็มักถวายหรือแก้บนด้วยการรำละคร หรือประทัด เป็นต้น แต่การบนที่มักสมปรารถนาเร็วก็คือการบนตัวบวช ไม่ว่าจะเป็นบวชพระ บวชเณร บวชชี บวชชีพราหมณ์
พระคาถาบูชาหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา
“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” (๓ จบ)
“กาเยนะ วาจายะ มะยะเจตะสา มาระวิชะยัง สุวัณณะมานัง
มะหาเตชัง มะหาลาภัง พุทธะปะฏิมัง เมตตาจิตตัง นะมามิหัง
โอมะ ศรี ศรี ชัยยะ ชัยยะ สัพพะทุกขา อุปัททะวา สัพพันตะรายา
สัพพะโรคา วินาสสันติ สะทาโสตถี ภะวันตุ เม” (แล้วอธิษฐาน)
หากบนแล้วได้สัมฤทธิ์ตามที่ขอ จะต้องแก้บน โดยเป็นชายจะบนบวชพระแก้ ถ้าเป็นหญิงจะบนบวชชีพราหมณ์ บ้างจุดประทัดถวาย หรือไม่ก็เลี้ยงอาหารแก้บน โดยเฉพาะในวันหยุดหรือวันสำคัญต่างๆ วัดเขาตะเคราจะคลาคล่ำ ไปด้วยพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมากราบสักการะ
หมายเหตุ : สำหรับบนยอดเขาตะเครา ยังมีพระรูปองค์จำลองหลวงพ่อทอง เรียกว่าหลวงพ่อหมอ ที่มีผู้คนไปบนบานในเรื่องต่างๆ ด้วยเช่นกัน, มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานให้กราบไหว้บูชาด้วย
127.0.0.1
Webmaster
ผู้ดูแล
Praput1981@hotmail.com
Webmaster
Praput1981@hotmail.com
3 ต.ค. 2556 23:00 #2
127.0.0.1
Webmaster
ผู้ดูแล
Praput1981@hotmail.com
Webmaster
Praput1981@hotmail.com
4 ต.ค. 2556 21:01 #3
127.0.0.1
Webmaster
ผู้ดูแล
Praput1981@hotmail.com
Webmaster
Praput1981@hotmail.com
4 ต.ค. 2556 21:03 #4
ส่วนเหตุที่ว่าพระพุทธรูปทั้ง 5
จากตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5คน บวชเป็นพระภิกษุและสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล มีอำนาจทางจิตมาก ได้ตั้งจิตอธิษฐานร่วมกันว่าจะขอบำเพ็ญบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แม้ตายไปแล้ว ก็จะสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ต่อไป จนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน และเมื่อพระภิกษุทั้ง 5 มรณภาพไปแล้ว ก็ได้เข้ามาสถิตอยู่ในพระพุทธรูปทั้งห้าองค์และแสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ โดยพระพุทธรูปทั้งห้าองค์ลอยน้ำมาทางใต้ตามแม่น้ำทั้ง 5 สาย
ในขณะที่บางตำนานก็กล่าวไว้ว่า การที่พระพุทธรูปทั้ง 5 ลอยน้ำมานี้ ก็เพราะเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ข้าศึกได้เผาไฟเพื่อหลอมเอาทองที่หล่อจากองค์พระพุทธรูป ชาวบ้านเองก็ต้องการจะรักษาพระพุทธรูปไว้ จึงเอาปูนบ้าง รักดำบ้างไปพอกไว้ที่องค์พระเพื่อให้ดูไม่สวยงามและปกปิดความมีค่าไว้จากข้าศึก แต่เมื่อไม่อาจปกป้องได้ไหวจึงขนย้ายพระพุทธรูปสำคัญลงแพไม้ไผ่ล่องมาตามแม่น้ำเพื่อไม่ให้ข้าศึกทำลาย ด้วยน้ำหนักขององค์พระ เมื่อวางพระลงบนแพไม้ไผ่จึงดูเหมือนพระพุทธรูปลอยมาตามน้ำ จนผู้ที่พบเห็นถือเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ที่พระพุทธรูปองค์ใหญ่น้ำหนักมากจะสามารถจะลอยน้ำได้
หลวงพ่อโสธร" แห่งลุ่มแม่น้ำบางปะกง
ตามประวัติของหลวงพ่อโสธรกล่าวไว้ว่า พระหลวงพ่อโสธรและพระพุทธรูปอีกสององค์ได้ลอยมายังแม่น้ำเจ้าพระยาตรงบริเวณที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "สามเสน" และลอยขึ้นมาให้ชาวบ้านเห็น แต่เมื่อพยายามชักลากพระทั้ง 3 องค์ขึ้นมาบนฝั่งเท่าไรก็ไม่สามารถทำได้ ว่ากันว่าต้องใช้ผู้คนเป็นแสนๆ ก็ทำไม่สำเร็จ บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "สามแสน" ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น"สามเสน"
จากนั้นพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็จมน้ำลง และลอยต่อไปยังคนละแห่ง โดยพระพุทธรูปองค์หนึ่งได้ลอยตามแม่น้ำบางปะกงมาขึ้นที่หน้าวัดโสธรและลอยให้ชาวบ้านเห็น ชาวบ้านจึงช่วยกันฉุดแต่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ จนต้องตั้งพิธีบวงสรวงใช้สายสิญจน์คล้องกับพระหัตถ์ของพระพุทธรูปจนสามารถอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานในวิหารได้สำเร็จ
127.0.0.1
Webmaster
ผู้ดูแล
Praput1981@hotmail.com
Webmaster
Praput1981@hotmail.com
4 ต.ค. 2556 21:38 #5
"หลวงพ่อโต" แห่งคลองสำโรง แม่น้ำเจ้าพระยา
พระพุทธรูปหนึ่งในห้าองค์ได้ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงคลองสำโรง แต่เมื่อชาวบ้านช่วยกันฉุดดึงเท่าไรก็ไม่สามารถนำพระขึ้นจากน้ำได้ จึงต้องใช้เรือพายฉุดท่านให้ลอยมาตามคลองสำโรงและอธิษฐานว่า หากพระพุทธรูปประสงค์จะขึ้นที่ใด ก็ขอแสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้น และเมื่อแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม หรือปัจจุบันคือวัดบางพลีใหญ่ใน แพที่ประดิษฐานพระพุทธรูปก็เกิดหยุดนิ่ง ฝีพายพยายามพายอย่างเต็มกำลังก็ไม่สามารถลากแพไปได้ จึงอัญเชิญพระขึ้นมาประดิษฐานในพระวิหารของวัดบางพลีใหญ่ใน และต่อมาจึงได้สร้างอุโบสถใหม่เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้
หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เหตุที่ได้ชื่อว่าหลวงพ่อโตก็เพราะท่านมีขนาดใหญ่โต หน้าตักกว้างถึง 3 ศอก 1 คืบ มีเรื่องเล่ากันว่าเมื่อตอนที่สร้างโบสถ์เสร็จใหม่ๆ ก่อนจะอัญเชิญหลวงพ่อโตเข้าไปประดิษฐานภายในก็ได้มีการวัดขนาดของพระกับช่องประตูไว้อย่างพอดีแล้วว่าช่องประตูใหญ่กว่าองค์ท่านประมาณ ๕ นิ้ว สามารถนำท่านชะลอผ่านประตูเข้าไปได้ แต่พอเวลาจะอัญเชิญหลวงพ่อเข้าสู่อุโบสถ ปรากฏว่าหลวงพ่อใหญ่มีขนาดใหญ่กว่าช่องประตูมาก ไม่สามารถผ่านประตูเข้าไปได้ เกือบจะต้องทุบช่องประตูออกเสียแล้ว แต่มีบางคนเห็นว่าเป็นอภินิหารของหลวงพ่อโต ทุกคนจึงจุดธูปเทียนบูชาอธิษฐานขอให้หลวงพ่อผ่านเข้าประตูอุโบสถได้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญคุ้มครองชาวบางพลีสืบต่อไป ซึ่งก็สามารถอัญเชิญหลวงพ่อผ่านเข้าประตูพระอุโบสถได้อย่างง่ายดาย
127.0.0.1
Webmaster
ผู้ดูแล
Praput1981@hotmail.com
Webmaster
Praput1981@hotmail.com
4 ต.ค. 2556 21:48 #6
"หลวงพ่อวัดไร่ขิง" แห่งแม่น้ำนครชัยศรี
ประวัติของหลวงพ่อวัดไร่ขิงนี้มีอยู่หลายแบบด้วยกัน บ้างก็ว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิงลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี และชาวบ้านได้นำขึ้นประดิษฐานที่วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และเรียกท่านว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” บ้างก็เล่าว่า ในสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตรในพ.ศ.๒๓๙๔ และครองวัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านไปที่วัดไร่ขิง และกล่าวกับเจ้าอาวาสวัดไร่ขิงว่า โบสถ์ใหญ่โต แต่พระประธานเล็กไปหน่อย
เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงจึงกราบเรียนท่านว่า วัดไร่ขิงเป็นวัดจนๆ ไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปใหญ่โตได้ เมื่อทราบดังนั้นท่านจึงบอกว่าที่วัดของท่านมีพระอยู่องค์หนึ่งให้เจ้าอาวาสไปอัญเชิญมาได้ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงจึงเดินทางไปยังวัดศาลาปูน และอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวลงแพที่ใช้ไม้ไผ่มัดล่องลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยา เข้าแม่น้ำนครชัยศรี(ท่าจีน) จนกระทั่งถึงวัดไร่ขิง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถตั้งแต่นั้นมา
และในวันที่ชาวบ้านทำพิธีอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นจากแพไม้ไผ่ ตรงกับวันสงกรานต์พอดี ขณะที่กำลังอัญเชิญหลวงพ่อขึ้นจากแพนั้น แสงแดดที่ส่องแรงก็กลายเป็นเมฆดำ มีฟ้าร้องฝนตกโปรยปรายลงมา ทำให้คนที่อยู่ ณ ที่นั้นเกิดความชื่นใจ เชื่อว่าหลวงพ่อจะช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป ทุกวันนี้ที่อุโบสถของหลวงพ่อวัดไร่ขิงก็จะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนจากทุกสารทิศที่มีความศรัทธามากราบไหว้อยู่ไม่ขาด โดยเฉพาะผู้ที่มีทุกข์ร้อนเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ก็มักจะนำน้ำมนต์ของหลวงพ่อไปอาบหรือดื่มเพื่ออธิษฐานให้หายจากโรคภัย
127.0.0.1
Webmaster
ผู้ดูแล
Praput1981@hotmail.com
Webmaster
Praput1981@hotmail.com
4 ต.ค. 2556 21:57 #7
"หลวงพ่อบ้านแหลม" แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง"
หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวใน 5 องค์ที่เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ประวัติของหลวงพ่อบ้านแหลมมีอยู่ว่า ชาวบ้านแหลมซึ่งอยู่ปากอ่าวจังหวัดเพชรบุรี ได้เป็นลากอวนไปพบพระพุทธรูปปางมารวิชัยติดขึ้นมา จึงได้อาราธนาพระพุทธรูปขึ้นบนเรือแล้วกลับเข้าฝั่ง แต่ระหว่างทางก็ได้พบพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งลอยปริ่มน้ำอยู่ไม่ไกลนัก เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร จึงได้อัญเชิญขึ้นเรืออีกลำหนึ่ง
แต่พอเรือแล่นมาถึงแม่น้ำแม่กลอง หน้าวัดศรีจำปา ก็ได้เกิดมีฝนตกหนัก ลมพายุแรงจนทำให้เรือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนนั้นล่มลง พระจมหายลงไปหาอย่างไรก็ไม่พบ ชาวบ้านจึงนำเอาพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่นั้นกลับไปยังถิ่นฐานของตน
และต่อมา ชาวบ้านวัดศรีจำปาก็ช่วยกันลงค้นหาพระพุทธรูปที่จมอยู่ในแม่น้ำแม่กลอง จนพบพระพุทธรูปยืนนั้นและอัญเชิญไปยังวัดศรีจำปา แต่เมื่อชาวบ้านแหลมที่เป็นผู้พบได้รู้ข่าวว่าเจอพระพุทธรูปที่จมน้ำแล้วจึงพากันมาทวงพระคืน แต่ชาวบ้านวัดศรีจำปาก็ไม่ยอมคืนให้ จนสรุปสุดท้ายชาวบ้านแหลมจึงยินยอมยกพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรให้ชาวบ้านศรีจำปาไป แต่มีข้อแม้ว่าต้องเปลี่ยนชื่อวัดเป็น"วัดบ้านแหลม" ตามสถานที่ที่พบพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก และเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" ต่อมา และเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดเพชรสมุทรอย่างในปัจจุบัน
127.0.0.1
Webmaster
ผู้ดูแล
Praput1981@hotmail.com
Webmaster
Praput1981@hotmail.com
4 ต.ค. 2556 21:57 #8
127.0.0.1
Webmaster
ผู้ดูแล
Praput1981@hotmail.com
Webmaster
Praput1981@hotmail.com
4 ต.ค. 2556 22:41 #9
ตำนานพระพี่น้องทั้ง 5 ก็มีดังปรากฏนี้ครับ
...... ที่วัดเขาตะเครานี้ไม่ค่อยได้ถ่ายรูปเท่าไรครับ เนื่องจากช่วงนั้นกำลังปิติที่ได้ทำบุญกับหลวงพ่อกันครับ แต่พวกเราจำบรรยากาศวันนั้นได้ดีเลยครับ มีความสุขทุกครั้งที่ได้ระลึกถึง ก่อนกลับได้เช่าบูชาหลวงพ่อทองมาองค์เล็กมาด้วยหนึ่งองค์
หลังจากที่พวกเรากลับลงมาจากวัดเขาตะเคราแล้ว ก็ได้นำพระพุทธรูปองค์ที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นครับ ไปถวายที่วัดแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน จำชื่อวัดไม่ได้แล้วครับ ซึ่งสภาพหมู่บ้านก็เป็นหมู่บ้านชานเขาครับ อยู่กันอย่างพอเพียง สงบร่มเย็น ห่างไกลแสง สี เสียง บรรยากาศดีครับ อยู่กับธรรมชาติ
ที่วัดแห่งนี้ ท่านเจ้าอาวาสอายุท่านประมาณคร่าวคงจะร่วมร้อยปีเห็นจะได้ ท่านชรามาก แต่ยังดูแข็งแรงมากครับ แม้ว่าหูของท่านจะไม่ค่อยได้ยินสักเท่าไรก็ตาม เวลาพูดกับท่านต้องตะโกน ท่านจึงจะได้ยิน
วัดน่าจะสร้างมานานแล้ว มีบริเวณกว้าง แต่ตัวอาคารไม่ใหญ่มาก เป็นไม้ทั้งหลัง ภายในศาลาวัดมองดูแล้วน่าจะเป็นไม้สักครับ เมื่อพวกเราถวายพระกันเสร็จแล้วกำลังจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ. มีคุณลุงที่ดูแลอุปัฏถากหลวงตาอยู่ ได้วิ่งลงบันไดมาถามว่า เราเช่าพระมาเท่าไร และหากจะนิมนต์ให้คนเช่าต่อจะว่าอะไรไหม เนื่องจากว่าตอนนี้ทางวัด (หมายถึงตอนที่พวกเรานำพระไปถวาย) กำลังจะสร้างศาลาอเนกประสงค์เพิ่ม หากมีเจ้าภาพมาถวายปัจจัยมากๆจะได้มอบพระให้เขาเป็นเครื่องระลึกถึงความดี
พวกเราได้ยินดังนั้นก็ตอบคุณลุงไปว่า" ยินดีครับ ยินดีค่ะ เพราะเราได้ถวายให้วัดแล้ว และถ้ามีคนมาเช่าบูชาต่อ เราก็ถือว่าได้บุญสองต่อด้วย" เมื่อคุณลุงได้ฟังดังนั้น ก็พยักหน้ารับ แล้วก็ยืนยิ้มส่งพวกเราขึ้นรถกลับบ้าน
ครับ ทริปเที่ยววัดทำบุญ ทีจังหวัดเพชรบุรี ก็จบการเดินทางเพียงเท่านี้ครับ กว่าจะถึงบ้านก็เหนื่อยเพลียไปตามๆกัน แต่สุขใจมากๆครับ
โอกาสหน้าจะพาไปเที่ยววัดที่อื่นต่อ ครับแต่จะเป็นวัดอะไรเดี๋ยวเรามาคอยติดตามกันครับ สวัสดีครับ
127.0.0.1
Webmaster
ผู้ดูแล
Praput1981@hotmail.com