พระพุทธเทวนฤมิตรพิชิตมาร วัดคูหาสวรรค์วรวิหาร
หน้าตัก ๙ นิ้ว ดวงตามุก เนื้อโลหะมหาชนวน องค์ที่ ๑๘
พิธี มหาพุทธา-เทวาภิเษก
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗ มีพระมหาเถระ และ พระเถระ ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก ณ.พระอุโบสถ วัดคูหาสวรรค์ วรวิหาร เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ (ซึ่งเป็นพิธีใหญ่เปิดรับความเป็นสิริมงคล..รับโชคดีปีใหม่กันเลยทีเดียวครับ) ดังรายนามดังต่อไปนี้..
๑. ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จ.กรุงเทพ ฯ เสด็จเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย และ นั่งปรกอธิษฐานจิต
๒.พระพรหมโมลี วัดสระเกศ ฯ จ.กรุงเทพ ฯ เป็นองค์ดับเทียนชัยและนั่งปรกอธิษฐานจิต
๓.พระเทพมงคลรังษี (หลวงปู่เฉลียว) วัดอรุณราช ฯ จ.กรุงเทพ ฯ นั่งปรกอธิษฐานจิต
๔.พระเทพสุธี (หลวงพ่อสมควร) วัดนิมมานนรดี จ.กรุงเทพ ฯ นั่งปรกอธิษฐานจิต
๕.พระราชพิพัฒน์โกศล (หลวงปู่เณร) วัดศรีสุดาราม ฯ จ.กรุงเทพ ฯ นั่งปรกอธิษฐานจิต
๖.พระสิทธิญาณมุนี (หลวงพ่อโหนก) วัดคูหาสวรรค์ ฯ จ.กรุงเทพ ฯ นั่งปรกอธิษฐานจิต
๗.พระสิทธิพัฒนาทร (หลวงพ่อหมู) วัดทรงธรรม ฯ จ.สมุทรปราการ นั่งปรกอธิษฐานจิต
๘.พระครูประโชติธรรมวิจิตร (หลวงปู่เพิ่ม) วัดป้อมแก้ว จ.อยุธยา ฯ นั่งปรกอธิษฐานจิต
๙.พระครูสิริธรรมรัต (หลวงพ่อหล่ำ) วัดสามัคคีธรรม จ.กรุงเทพฯ นั่งปรกอธิษฐานจิต
๑๐.พระครูศุภมงคล (หลวงปู่หุน) วัดบางผึ้ง จ.ฉะเชิงเทรา นั่งปรกอธิษฐานจิต
๑๑.พระครูพิศาลจริยาภิรมย์ (พระมหาสุรศักดิ์) วัดประดู่ ฯ จ.สมุทรสงคราม นั่งปรกอธิษฐานจิต
๑๒.พระครูวิมลญาณอุดม (พระอาจารย์ติ๋ว) วัดมณีชลขัณฑ์ จ.ลพบุรี นั่งปรกอธิษฐานจิต
๑๓.พระครูปทุมวรกิจ (พระอาจารย์ชำนาญ) วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี นั่งปรกอธิษฐานจิต
๑๔.พระครูสุจิตาภรณ์ (หลวงพ่อสมเจตน์) วัดนก จ.กรุงเทพ ฯ นั่งปรกอธิษฐานจิต
๑๕.พระครูธรรมสารรักษา (หลวงพ่อปวน) วัดบรรหารแจ่มใส จ.สุพรรณฯ นั่งปรกอธิษฐานจิต
๑๖.หลวงพ่อแฉล้ม ฉนฺทวณฺโณ วัดกระโดงทอง จ.อยุธยา ฯ นั่งปรกอธิษฐานจิต
วัดคูหาสวรรค์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
วัดนี้เดิมเป็นวัดราษฎร์และเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณวัดคูหาสวรรค์ ฯ หรือวัดศาลาสี่หน้านี้ เคยเป็นเมืองธนบุรีเดิม โดยมีประเด็นสนใจว่า “ เมืองธนบุรีเดิมตั้งอยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ตรงวัดคูหาสวรรค์ หรือที่เรียกว่า วัดศาลาสี่หน้า๑ เมื่อรัชกาลสมเด็จพระชัยราชาธิราช สมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยในปัจจุบัน มาถึงคลองบางกอกใหญ่ ที่ตรงวัดอรุณราชวราราม คลองนั้นนานมากลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา จึงย้ายเมืองธนบุรีมาตั้งป้อมปราการขึ้นที่ตรงวัดอรุณราชวราราม ปรากฏในพงศาวดารครั้งรัชกาลสมเด็จพระนารายสมัยกรุงศรีอยุธยา ว่า โปรดให้เจ้าพระยาวิชเยนทร์เป็นแม่กองสร้างป้อมขึ้นที่เมืองธนบุรี และเมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
ความปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องวัดสมอราย ฉบับโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ร.ศ. ๑๒๕ หน้า ๙ ตอนหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงดำริห์จะซ่อมแซมสร้างพระอาราม ซึ่งร้างชำรุดทรุดโทรมทั่วไป จึงทรงปันเป็นส่วน ๆ ยกไว้เป็นส่วนพระบรมมหาราชวัง ทรงปฏิสังขรณ์ เช่นวัดโพธิ์ เป็นวัดพระเชตุพน วัดสะแก เป็นวัดสระเกศ วัดเรียบ เป็นวัดราชบูรณะ วัดทอง เป็นวัดสุวรรณ ทรงสร้างวัดสุทัศน์เทพวราราม วัดทั้งนี้ทรงปฏิสังขรณ์และสร้างขึ้นโดยประณีต ดุจหนึ่งวัดทำใหม่ทั้งสิ้น ส่วนที่เป็นแต่ปฏิสังขรณ์ เช่นวัดท้ายตลาดโมฬีโลก วัดพลับราชสิทธาราม จนกระทั้งถึงวัดศาลาสี่หน้า ที่เปลี่ยนชื่อเป็น วัดคูหาสวรรค์ เป็นที่สุดทรงปฏิสังขรณ์แต่พอใช้ได้ และในครั้งรัชการที่ ๑ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดให้อัญเชิญพระพุทธปฎิมากรปางนั่งสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่งดงามมากและเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดคูหาสวรรค์นี้ ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ทรงขนานพระนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร” ซึ่งยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างพระประธานขึ้นใหม่ สำหรับประดิษฐานเป็นพระประธานแทนพระพุทธเทวปฏิมากร ที่โปรดให้อัญเชิญไปนั้นและโปรดให้สถาปนาพระอุโบสถศาลาการเปรียญและเสนาสนะขึ้นอีกเป็นอันมาก เมื่อสถาปนาสำเร็จบริบูรณ์แล้ว จึงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดคูหาสวรรค์
วัดคูหาสวรรค์วรวิหาร นี้ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดมหานิกาย เลขที่วัด ๒๓๓ ซอยเพชรเกษม ๒๘ แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ เป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีอยู่ แต่ใครจะเป็นผู้สร้างนั้นไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมเรียกชื่อว่า “วัดศาลาสี่หน้า” ดังปรากฏตามแผนที่วัดสมัยกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิด วรวิหาร แต่ตามหลักฐานรับรองสภาพวัดของ กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปรากฏว่าตั้งวัด เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๐ และรับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๐
กำหนดเขตและที่ดินของวัด ผู้สร้างและผู้ปฏิสังขรณ์วัด
วัดนี้เดิมเป็นวัดราษฎร์และเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณวัดคูหาสวรรค์ ฯ หรือวัดศาลาสี่หน้านี้ เคยเป็นเมืองธนบุรีเดิม โดยมีประเด็นสนใจว่า “ เมืองธนบุรีเดิมตั้งอยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ตรงวัดคูหาสวรรค์ หรือที่เรียกว่า วัดศาลาสี่หน้า๑ เมื่อรัชกาลสมเด็จพระชัยราชาธิราช สมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา
ตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อยในปัจจุบัน มาถึงคลองบางกอกใหญ่ ที่ตรงวัดอรุณราชวราราม คลองนั้นนานมากลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา จึงย้ายเมืองธนบุรีมาตั้งป้อมปราการขึ้นที่ตรงวัดอรุณราชวราราม ปรากฏในพงศาวดารครั้งรัชกาลสมเด็จพระนารายสมัยกรุงศรีอยุธยา ว่า โปรดให้เจ้าพระยาวิชเยนทร์เป็นแม่กองสร้างป้อมขึ้นที่เมืองธนบุรี”1 และเมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
มีความปรากฏในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องวัดสมอราย ฉบับโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ร.ศ. ๑๒๕ หน้า ๙ ตอนหนึ่งว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงดำริห์จะซ่อมแซมสร้างพระอาราม ซึ่งร้างชำรุดทรุดโทรมทั่วไป จึงทรงปันเป็นส่วน ๆ ยกไว้เป็นส่วนพระบรมมหาราชวัง ทรงปฏิสังขรณ์ เช่นวัดโพธิ์ เป็นวัดพระเชตุพน วัดสะแก เป็นวัดสระเกศ วัดเรียบ เป็นวัดราชบูรณะ วัดทอง เป็นวัดสุวรรณ ทรงสร้างวัดสุทัศน์เทพวราราม ทั้งนี้ทรงปฏิสังขรณ์และสร้างขึ้นโดยประณีต ดุจหนึ่งวัดทำใหม่ทั้งสิ้น ส่วนที่เป็นแต่ปฏิสังขรณ์ เช่นวัดท้ายตลาดโมฬีโลก วัดพลับราชสิทธาราม จนกระทั้งถึงวัดศาลาสี่หน้า ที่เปลี่ยนชื่อเป็น วัดคูหาสวรรค์ เป็นที่สุดทรงปฏิสังขรณ์แต่พอใช้ได้ และในครั้งรัชการที่ ๑ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดให้อัญเชิญพระพุทธปฎิมากรปางนั่งสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่งดงามมากและเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดคูหาสวรรค์นี้ ไปประดิษฐาน เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพน ทรงขนานพระนามว่า “พระพุทธเทวปฏิมากร” ซึ่งยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้สร้างพระประธานขึ้นใหม่ สำหรับประดิษฐานเป็นพระประธานแทนพระพุทธเทวปฏิมากร ที่โปรดให้อัญเชิญไปนั้นและโปรดให้สถาปนาพระอุโบสถศาลาการเปรียญและเสนาสนะขึ้นอีกเป็นอันมาก เมื่อสถาปนาสำเร็จบริบูรณ์แล้ว จึงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดคูหาสวรรค์”
ส่วนศาลาสี่หน้านั้นจะทรงพระกรุณาโปรดให้ปฏิสังขรณ์ขึ้น ในครั้งนั้นด้วยหรืออย่างไรไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานว่า คงจะได้ ทรงพระกรุณาโปรดให้ปฏิสังขรณ์ด้วยเพราะการปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้นนับว่าเป็นการใหญ่ ของอื่น ๆ เช่น พระอุโบสถและศาลาการเปรียญเหล่านี้ เป็นต้น ก็ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ทั้งหมด แม้ศาลาสี่หน้าไม่ใหญ่โตเท่าไรนัก จะไม่โปรดให้ปฏิสังขรณ์ด้วยนั้น ดูไม่สมเหตุผล ฯ ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาแล้ว ต่อมาในรัชการที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้สถาปนาอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่าโปรดให้สถาปนาสิ่งไรบ้าง สันนิษฐานว่า คงจะได้โปรดให้สถาปนาทั่วทั้งพระอารามดุจครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนา ฉะนั้นถัดจากนี้ไปการบูรณปฏิสังขรณ์ก็ด้อยลงโดยลำดับ เสนาสนะจึงชำรุดทรุดโทรมหักพังเสียเป็นอันมาก แม้เจ้าอาวาสหรือผู้มีศรัทธาในยุคนั้น ๆ จะได้ปฏิสังขรณ์อะไรขึ้นบ้างสืบไม่ได้ความ พึงได้ความปรากฏว่าพระอธิการสุข ผู้ปกครองวัดรูปที่ ๗ ได้จัดการสร้างกุฎีขึ้น ๒ หลัง รวมทั้งของเดิมด้วยมีกุฎีอยู่ ๕ หลังเท่านั้น
ครั้นถึงยุคพระวิสุทธิสารเถร เจ้าอาวาสรูปที่ ๘ เป็นผู้ปกครองวัดได้จัดการชักชวนผู้มีจิตศรัทธาให้ช่วยกัน บริจาคทรัพย์สร้างกุฎีขึ้นอีก ๑๕ หลัง แลทั้งปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ คือ พระอุโบสถทำพื้นใหม่ทั้งข้างนอกข้างใน แลเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาปิดทองหน้าบันบานประตูหน้าต่างใหม่ สิ้นเงินที่ใช้จ่ายในการนี้ประมาณ ๕,๐๐๐ บาทเศษ
ศาลาการเปรียญเปลี่ยนพื้นทำฝาช่อฟ้าใบระกา มุงกระเบื้องหลังคาใหม่ ศาลาขวางก็ได้เปลี่ยนช่อฟ้าแลพื้นใหม่ด้วย รวมค่าใช้จ่ายใน ๒ ประเภทนี้สิ้นเงินประมาณ ๓,๖๐๐ บาท ศาลาสี่หน้าของเดิมชำรุดทรุดโทรมหักพังหมดได้จัดการบูรณะใหม่คราวเดียวกันกับศาลาคู่ แลการสร้างเขื่อนที่หน้าวัด รวมค่าใช้จ่ายในประเภทนี้สิ้นเงิน ๕,๙๐๐ บาท ในยุคนี้นับว่าวัดเจริญขึ้นโดยลำดับ ฯ
วัดคูหาสวรรค์วรวิหาร กับ พระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ ๑ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามแล้ว ทรงสถาปนาจากวัดราษฎร์ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร แล้วทรงเปลี่ยนชื่อจาก วัดศาลาสี่หน้า มาเป็น วัดคูหาสวรรค์ วรวิหาร
รัชการที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชทาน โคมและเสาโคม ๔ ใบ เนื่องในวันวิสาขบูชา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐
ในสมัยรัชการที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้ เจ้าพระยามหาโยธา มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดคูหาสวรรค์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่าโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งไรบ้าง สันนิษฐานว่า คงจะได้โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งพระอารามดุจครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
ทรงพระราชทานเทียนนั่งธรรมและเทียนพระสงฆ์ แก่พระอาจารย์ภัน วัดคูหาสวรรค์ และพระอธิการพูน วัดกุฏิ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปี วอก พ.ศ. ๒๓๖๗ นอกจากนั้นยังทรงพระราชทานเทียนจำพรรษาอีกวัดละ ๑ เล่ม
เมื่อปี จ.ศ. ๑๑๘๗ พระอาจารย์ในสมัยนั้น ได้ครองผ้าพระกฐินพระราชทาน และรับบาตรถลกผ้าลาย ของสมเด็จพระพันปีหลวง
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้จำหลักพระรูปเกี้ยวยอด ติดหน้าบันพระอุโบสถ โดยพระองค์ได้ทรงพระราชทานเงินพระคลังข้างที่ ๔๐๐ บาท ช่วยในการกุศลนี้ เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ร.ศ. ๑๒๒ และเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๕ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระสาสนานุรักษ์ (ทิม) เจ้าอาวาสวัดนวลนรดิศ มาบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดคูหาสวรรค์ครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งหลังจากชำรุดมานาน โดยใช้ปัจจัยของพระสาสนานุรักษ์ ๕๐๐ บาท และเรี่ยไรจากผู้มีศรัทธาอีก ๒,๐๐๐ บาท ดังปรากฏในเอกสารกองจดหมายหมายเหตุแห่งชาติ รัชกาลที่ ๕ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่องวัดคูหาสวรรค์
ต่อจากนั้น เจ้าอาวาสหรือผู้มีศรัทธาในยุคนั้น ๆ ก็คงจะมีการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นครั้งคราวเรื่อยมา แต่ไม่ปรากฏรายละเอียด พึงได้ความปรากฏว่าพระอธิการสุข เจ้าอาวาสรูปที่ ๗ ได้จัดการสร้างกุฎิขึ้น ๒ หลัง รวมทั้งของเดิม ๓ หลัง รวมมีกุฎิอยู่ ๕ หลังเท่านั้น
ครั้นถึงยุคพระวิสุทธิสารเถร เจ้าอาวาสรูปที่ ๘ เป็นผู้ปกครองวัดได้จัดการชักชวนผู้มีจิตศรัทธาให้ช่วยกันบริจาคทรัพย์ดังมีรายละเอียดดังนี้ คือ
๑. สร้างกุฎีขึ้นอีก ๑๕ หลัง
๒. แลทั้งปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ คือ พระอุโบสถทำพื้นใหม่ทั้งข้างนอกข้างใน และเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาปิดทองหน้าบันบานประตูหน้าต่างใหม่ สิ้นเงินที่ใช้จ่ายในการนี้ประมาณ ๕,๐๐๐ บาทเศษ
๓. ศาลาการเปรียญ เปลี่ยนพื้นทำฝาช่อฟ้าใบระกา มุงกระเบื้องหลังคาใหม่
๔. ศาลาขวาง ก็ได้เปลี่ยนช่อฟ้าแลพื้นใหม่ด้วย รวมค่าใช้จ่ายในรายการ ๓ - ๔ สิ้นเงินในการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้นประมาณ ๓,๖๐๐ บาท
๕. ศาลาสี่หน้า ของเดิมชำรุดทรุดโทรมหักพังหมดได้จัดการบูรณะใหม่คราวเดียวกันกับศาลาคู่ แลการสร้างเขื่อนที่หน้าวัด รวมค่าใช้จ่ายในประเภทนี้สิ้นเงิน ๕,๙๐๐ บาท ซึ่งในยุคนี้นับว่าวัดคูหาสวรรค์ก็ได้เจริญขึ้นโดยลำดับ ฯ
ข้อมูลวัด : กระทรวงศึกษาธิการ, แบบเรียนภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ประเทศสยาม, (พระนคร : กรมตำรา, ๒๔๖๘)
Last Updated on Tuesday, 03 January 2012 13:52