พระพุทธนวราชบพิตร พิมพ์จิตรลดา โครงการหลวง ปี๒๕๓๙
เนื้อเงิน พิมพ์ใหญ่ (ผิวกลับดำตามอายุ)
เนื่องในปีมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ คณะกรรมการมีความเห็นที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นที่ระลึกเพื่อให้ พสกนิกรได้สักการบูชาแสดงความจงรักภักดีน้อมเกล้าฯ ในวโรกาสมหามงคลดังกล่าว และหากจะพึงมีรายรับก็จะนำทูลเกล้าฯ ถวายสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวง คณะกรรมการได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง ดังนี้ พระพุทธรูปบูชา ขนาดหน้าตัก ๑๒นิ้ว, พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา, พระพิมพ์จิตรลดา เป็นพระพิมพ์นูนบนพื้นสามเหลี่ยม, และพระพิมพ์จิตรลดา เนื้อผง
การ จัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดาดังกล่าวนี้ สืบเนื่องจากคณะกรรมการได้พิจารณาเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธนวราชบพิตรและพระราชทานเพื่อ ประดิษฐาน ณ จังหวัดต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๙ ที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตร ได้ทรงบรรจุพระพุทธรูปพิมพ์ซึ่งทรงสร้างด้วยพระหัตถ์จากผงศักดิ์สิทธิ์นานา ชนิด ทั้งในพระองค์และจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดต่างๆ ดังปรากฏรายละเอียดการจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตรที่พระราชทานเป็นพระประจำ จังหวัด ดังนี้
พระ พุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๓ ซม. สูง ๔๐ ซม. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาเขต เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป กรมศิลปากร เข้ามาปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมานี้ในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้ทรงตรวจพระพุทธลักษณะของพระปฏิมานั้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นายช่างเททองหล่อพระพุทธรูปนั้นขึ้น เมื่อวันที่ ๒๘เมษายน พ.ศ.๒๕๐๙ และได้โปรดเกล้าฯให้ขนานนามพระพุทธรูปนั้นว่า “พระพุทธนวราชบพิตร”
พระพุทธนวราชบพิตรนั้น นอกจากจะเป็นนิมิตหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดแห่งพุทธศาสนิกชนทั่วไปแล้ว ยังเป็นนิมิตหมายแห่งความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างองค์พระมหากษัตราธิราชกับบรรดาพสกนิกรของพระองค์ในทุกจังหวัดทั่วพระ ราชอาณาจักร และพระพุทธรูปพิมพ์ซึ่งได้บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงายนั้น ก็ประกอบด้วยวัตถุศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ อันศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรได้ปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน พระพุทธนวราชบพิตร จึงเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งในรัชกาลปัจจุบัน
พระ พุทธรูปพิมพ์ที่ทรงสร้างนี้ นอกจากที่ทรงประดิษฐานไว้ที่ฐานบัวของพระพุทธนวราชบพิตรแล้ว ยังทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯพระราชทานแก่ข้าราชบริพารและพสกนิกรบางคนนำไปบูชาด้วย แต่จำนวนไม่มากนัก และได้เรียกขานนามพระกันเป็นสามัญ จนเป็นที่รู้จักว่า “พระสมเด็จจิตรลดา”
คณะ กรรมการได้เห็นความสำคัญของพระพุทธนวราชบพิตรและพระสมเด็จจิตรลดาดังกล่าว ซึ่งมีความสำคัญและหาได้ยากยิ่ง จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพื่อจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา ในโอกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ปี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสสักการบูชา เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต จึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ (นามพระพิมพ์จิตรลดา เพื่อให้แตกต่างจากพระสมเด็จจิตรลดา) จึงได้เกิด “โครงการสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดา ในพระบรมราชินูปถัมภ์” ขึ้น
โครงการ นี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับโครงการไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คณะกรรมการนั้นมีมูลนิธิโครงการหลวง มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นที่ปรึกษา หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ เป็นรองประธานกรรมการอำนวยการ และคุณวัลลภ เจียรวนนท์ เป็นประธานกรรมการดำเนินงาน
การจัดสร้างนั้น แบ่งเป็นพระเนื้อโลหะส่วนหนึ่ง และพระเนื้อผงอีกส่วนหนึ่งคณะกรรมการได้ดำเนินการ ดังนี้ ด้วยการจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดาในครั้งนี้ มีทั้งพระเนื้อโลหะและพระเนื้อผง พระเนื้อโลหะมีหลายรายการ แต่สร้างจำนวนไม่มาก แต่พระเนื้อผงรายการเดียวนั้นจัดสร้าง 1 ล้านองค์ ดังนั้น การจัดเตรียมเนื้อพระจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่คณะกรรมการได้เตรียมการล่วงหน้า ไว้เป็นเวลานาน
๑. พระพุทธนวราชบพิตร พระบูชาเนื้อนวโลหะ ขนาดหน้าตัก ๑๒ นิ้ว จำนวน ๓ องค์ เพื่อทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เมื่อทูลเกล้าฯถวายแล้ว ได้พระราชทานมูลนิธิโครงการหลวง ๑ องค์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ๑ องค์)
๒.พระ กริ่งพิมพ์จิตรลดา ชุดพิเศษ เป็นองค์พระพุทธนวราชบพิตรลอยองค์ ฐานบัวสองชั้น ขนาดหน้าตัก ๒.๒ ซม. สูง๔.๖ ซม. ด้านหลังมีตรากาญจนาภิเษก จัดสร้างเฉพาะผู้สั่งจอง จำนวน ๑๐๘ ชุด ๑ ชุด มีพระกริ่งเนื้อทองคำหนักประมาณ ๕๑ กรัม ๑ องค์ เนื้อเงิน ๑ องค์ เนื้อนาก ๑ องค์ เนื้อสัมฤทธิ์ ๑ องค์ เนื้อนวโลหะ 1 องค์ พระพิมพ์จิตรลดา ขนาดใหญ่ เนื้อทองคำ 1 องค์ เนื้อเงิน 1 องค์ เนื้อนวโลหะ 1 องค์ พระพิมพ์จิตรลดา ขนาดเล็ก เนื้อทองคำ 1 องค์ เนื้อเงิน ๑ องค์ เนื้อนวโลหะ ๑ องค์ และพระพิมพ์จิตรลดา เนื้อผง ๑ องค์ รวม ๑๒ องค์ บรรจุรวมในกล่องไม้สวยงาม
๓. พระ พิมพ์จิตรลดา ขนาดใหญ่ เป็นพระพิมพ์รูปองค์พระพุทธนวราชบพิตรนูนต่ำบนพื้นสามเหลี่ยม สูง ๓.๒ ซม. ด้านหลังเป็นตรากาญจนาภิเษก มีอักษรว่า โครงการหลวง สร้างเป็นเนื้อทองคำ เงิน และนวโลหะ ๒,๕๓๙ ชุด เฉพาะเนื้อเงิน ๔๐,๐๐๐ องค์ เฉพาะเนื้อนวโลหะ ๔๐,๐๐๐ องค์ พระพิมพ์จิตรลดาขนาดเล็ก เหมือนขนาดใหญ่แต่ย่อมกว่า คือสูงเพียง ๒.๓ ซม. จัดสร้างเนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ ชุดละ ๓ องค์ รวม ๕,๐๐๐ ชุด เฉพาะเนื้อเงิน ๖๐,๐๐๐๐ องค์ เนื้อนวโลหะ ๖๐,๐๐๐ องค์
๔. พระพิมพ์จิตรลดา เนื้อผงลักษณะและขนาดเหมือนพระพิมพ์จิตรลดาขนาดใหญ่ มีรายละเอียดเหมือนกัน เพียงแต่เป็นเนื้อผงพุทธคุณ จัดสร้างจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ องค์
นอก จากจำนวนที่สร้างตามกำหนดดังกล่าวแล้ว ยังได้จัดสร้างอีกส่วนหนึ่งคือ พระกริ่งจิตรลดาชุดพิเศษ (ชุดละ ๑๒องค์ ตามข้อ ๒) จำนวน ๖ ชุด และพระเนื้อผงจำนวน๕๐,๐๐๐ องค์ เพื่อทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กับมีพระกริ่งเจริญโภคทรัพย์ 1 องค์ พระพิมพ์จิตรลดา เนื้อผง 1 องค์ รวมเป็นชุด ทั้งหมด ๑,๙๙๙ ชุด สำหรับกรรมการและคณะทำงานดังที่ได้เล่าเมื่อครั้งก่อนแล้ว
พิธีพุทธาภิเษก
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นประธานจุดเทียนชัย และ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ดับเทียนชัย มีพระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก รวม ๓๖ รูป
ขอบคุณข้อมูล หนังสือลานโพธิ์ ต.ค. ๒๕๔๙